Fortify Rights Statement 31 May 2018: Thailand’s Appeal Court Overturns Conviction Against Labor-Rights Activist Andy Hall

(Thai version below)

https://us10.campaign-archive.com/?e=466cfdf184&u=f15b18127e37f74088063b773&id=950d20932d

Thailand’s Appeal Court Overturns Conviction Against Labor-Rights Activist Andy Hall

(Bangkok, May 31, 2018)—Thailand’s Appeal Court today overturned an earlier decision by the Bangkok South Criminal Court on September 20, 2016 to convict Andy Hall, a British labor-rights activist, on criminal defamation charges and alleged violations under the 2007 Computer-related Crimes Act.

In response to today’s verdict, Sutharee Wannasiri, Thailand Human Rights Specialist with Fortify Rights said:

“This is a monumental verdict towards upholding the rights to freedom of expression and the legitimate work of human rights defenders in Thailand. It is encouraging that the Court recognizes the legitimate work of human rights defenders and whistleblowers who report on human rights abuses within the business sector.

Investigating human rights abuses is not and never will be a crime. Today’s court decision sends a positive signal to the international community that Thailand will not tolerate business enterprises intimidating human rights activists through criminal prosecutions.

These criminal prosecutions aim to silence individuals who speak out against human rights abuses, creating a climate of fear among human rights activists and affected communities in Thailand. Thai authorities and business enterprises should immediately and unconditionally cease all criminal proceedings against all human rights defenders and whistleblowers.

The Thai Government should urgently decriminalize defamation. Until then, Thailand will continue to fall short of meeting its obligations under international law.

The complaint against Andy Hall should never have been brought in the first place. Human rights defenders shouldn’t be criminally prosecuted for reporting on concerning corporate practices, including issues around labor rights protection and the treatment of migrant workers.”

Andy Hall and his supporters from Migrant Workers Rights Network attended his verdict hearing on criminal defamation case brought by Natural Fruit Company Limited on September 20, 2016. ©Andy Hall, 2016

Background

On February 4, 2013, the Natural Fruit Company Limited, a Thai pineapple-processing company, filed a criminal complaint under Sections 326 and 328 of the Thai Criminal Code and Section 14 of the 2007 Computer-related Crimes Act against Andy Hall for his contribution to the Finnwatch report “Cheap Has A High Price,” published in January 2013. The report alleged labor rights violations of migrant workers in Natural Fruit’s factory in Prajuap Khiri Khan Province.

Natural Fruits reacted to the report by pressing at least four civil and criminal defamation complaints against Andy Hall, demanding in total damage claims of 400 million Baht (US$13.3 million).

On September 20, 2016, the Bangkok South Criminal Court convicted Andy Hall and sentenced him to four years’ imprisonment, reduced by one year and suspended by two years, and a fine of 200,000 Thai Baht (US$6,666), reduced to 150,000 Thai Baht (US$5,000). The Court granted Mr. Hall temporary release after he paid the fine. Both sides submitted appeals against the lower’s court decision.

In a separate civil defamation case, on March 26, 2018, the Prakanong Court read its verdict ordering Mr. Hall to pay 10 million Thai Baht (US$333,333) in damages to Natural Fruit, including interest of 7.5 percent from the date of the case filing. The Court additionally ordered Hall to pay 10,000 Thai Baht (US$333) towards Natural Fruit’s lawyer and court fees.

Freedom of opinions and expression are guaranteed under Section 34 and 35 of the 2017 Thai Constitution and under Article 19 of the International Covenant on Civil and Political Rights, to which Thailand is a state party. Under international law, restrictions on freedom of expression are permissible only when provided by law, proportional, and necessary to accomplish a legitimate aim. Imprisonment for defamation is a disproportionate punishment that infringes on the right to freedom of expression.

For more information, please contact:

สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ

Sutharee Wannasiri, Thailand Human Rights Specialist, Fortify Rights (in Thailand), +66.61.545.0524 (Thai/English);

Email: Sutharee.wannasiri@fortifyrights.org

Twitter: @SuthareeW, @FortifyRights

ส่งคำแปลความเห็นขององค์กรฟอร์ติฟายไรท์มีต่อกรณีศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาคดีหมิ่นประมาททางอาญาต่อนายอานดี้ ฮออล์ นักกิจกรรมด้านสิทธิแรงงาน ดังนี

ประเทศไทย ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับยกฟ้องข้อกล่าวหาต่อนายอานดี้ ฮอลล์นักกิจกรรมด้านสิทธิแรงงาน

(กรุงเทพฯ 30 พฤษภาคม 2561) วันนี้ ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษากลับคำตัดสินของศาลอาญากรุงเทพใต้ เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2559 ซึ่งตัดสินว่านายอานดี้ ฮอลล์ นักกิจกรรมด้านสิทธิแรงงาน มีความผิดตามข้อกล่าวหาหมิ่นประมาททางอาญาและข้อกล่าวหาตามพระราชบัญญัติการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ .. 2550

สืบเนื่องจากคำพิพากษาในวันนี้ สุธารี วรรณศิริ ผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิมนุษยชนประเทศไทย องค์กรฟอร์ติฟายไรท์ กล่าวว่า

คำพิพากษาในวันนี้เป็นสิ่งสำคัญที่รับรองสิทธิที่จะมีเสรีภาพในการแสดงออก และการทำงานที่ชอบธรรมของนักปกป้องสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย เป็นเรื่องที่น่าชื่นชมที่ศาลตระหนักถึงการทำงานของนักปกป้องสิทธิมนุษยชน และผู้ที่เปิดเผยข้อมูลเพื่อรายงานเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนในภาคธุรกิจ

การตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนไม่ใช่อาชญากรรมและจะไม่มีวันเป็น คำพิพากษาของศาลในวันนี้ส่งสัญญาณในทางบวกให้กับประชาคมระหว่างประเทศว่าประเทศไทยจะไม่ยอมรับการที่กลุ่มธุรกิจใช้กระบวนการดำเนินคดีอาญาคุกคามการทำงานของนักปกป้องสิทธิมนุษยชน

กระบวนการดำเนินคดีอาญาประเภทนี้มักมีจุดประสงค์เพื่อปิดปากบุคคลที่ลุกขึ้นเปล่งเสียงคัดค้านการละเมิดสิทธิ กระบวนการนี้ทำให้เกิดบรรยากาศแห่งความกลัวในกลุ่มนักปกป้องสิทธิมนุษยชนและชุมชนที่ได้รับผลกระทบในประเทศไทย ทางการไทยและภาคธุรกิจควรยุติการดำเนินคดีอาญาทุกคดีต่อนักปกป้องสิทธิมนุษยชนและผู้ที่เปิดเผยข้อมูลการละเมิดสิทธิ โดยทันทีอย่างไม่มีเงื่อนไข

รัฐบาลไทยควรเร่งดำเนินการเพื่อยกเลิกการเอาผิดทางอาญาในคดีหมิ่นประมาท จนกว่าจะถึงวันนั้น ประเทศไทยยังไม่สามารถปฏิบัติตามพันธกรณีตามกฎหมายระหว่างประเทศได้อย่างเต็มที่

การดำเนินคดีอาญากับนายอานดี้ ฮอลล์ ไม่ควรจะเกิดขึ้นตั้งแต่แรก นักปกป้องสิทธิมนุษยชน ไม่สมควรที่จะถูกดำเนินคดีอาญาเพราะการรายงานข้อห่วงกังวลเกี่ยวกับแนวปฏิบัติของภาคธุรกิจ รวมถึงข้อห่วงกังวลด้านการคุ้มครองสิทธิแรงงาน และการปฏิบัติต่อแรงงานข้ามชาติ

ความเป็นมา:

เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2556 บริษัท เนเชอรัลฟรุต จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทของไทยที่ทำธุรกิจการแปรรูปสับปะรด ยื่นคำฟ้องคดีอาญาตามมาตรา 326 และ 328 ของประมวลกฎหมายอาญา และมาตรา 14ตามพระราชบัญญัติการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ .. 2550ต่อนายอานดี้ ฮอลล์ ผู้ร่วมให้ข้อมูลกับรายงานขององค์กรฟินวอทช์ เรื่องสินค้าถูกมีราคาแพงซึ่งเผยแพร่เมื่อเดือนมกราคม 2556 รายงานฉบับดังกล่าวกล่าวหาว่ามีการละเมิดสิทธิของแรงงานข้ามชาติในโรงงานของบริษัท เนเชอรัลฟรุต จำกัด ในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์

บริษัท เนเชอรัลฟรุต จำกัดโต้ตอบด้วยการยื่นฟ้องคดีหมิ่นประมาททั้งทางแพ่งและทางอาญารวมสี่คดีต่อนายอานดี้ ฮอลล์ เรียกร้องค่าชดเชยความเสียหายรวมกันสูงถึง 400 ล้านบาท

เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2559 ศาลอาญากรุงเทพใต้มีคำพิพากษาลงโทษจำคุกนายอานดี้ ฮอลล์ เป็นเวลาสี่ปี ลดโทษหนึ่งปีคงเหลือโทษจำคุกสามปี และมีคำสั่งให้รอลงอาญาสองปี และสั่งปรับเป็นจำนวนเงิน 200,000 บาท ลดโทษเหลือ 150,000 บาท ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวนายอานดี้ ฮอลล์หลังจากที่เขาชำระเงินค่าปรับ ทั้งฝ่ายโจกท์และจำเลยยื่นอุทธรณ์ต่อคำพิพากษาของศาลชั้นต้น

ในคดีหมิ่นประมาททางแพ่งอีกคดีหนึ่ง เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2561 ศาลจังหวัดพระโขนงมีคำพิพากษาให้นายอานดี้ ฮอลล์จ่ายค่าเสียหายให้กับบริษัท เนเชอรัลฟรุต จำกัด เป็นจำนวนเงิน 10 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ยอีกร้อยละ 7.5 ต่อปี นับตั้งแต่วันที่มีการยื่นฟ้องคดี ศาลยังสั่งให้นายอานดี้จ่ายค่าทนายความและค่าธรรมเนียมศาลให้แก่บริษัท เนเชอรัลฟรุต จำกัด เพิ่มเติมอีก 10,000 บาท

เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการแสดงออกได้รับการรับรองภายใต้มาตรา 34 และ 35 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย .. 2560 และ มาตรา 19 ­ของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคี ภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศการจำกัดเสรีภาพในการแสดงออกจะกระทำได้ก็ต่อเมื่อ มีการระบุไว้ในกฎหมาย มีความได้สัดส่วน และความจำเป็น เพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายอันชอบธรรมเท่านั้น บทลงโทษจำคุกในกรณีของข้อกล่าวหาหมิ่นประมาทถือว่าเป็นบทลงโทษที่ไม่ได้สัดส่วนกับความผิดและเป็นการละเมิดสิทธิที่จะมีเสรีภาพในการแสดงออก

หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ

สุธารี วรรณศิริ ผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิมนุษยชนประเทศไทย องค์กรฟอร์ติฟายไรท์ โทร 061-545-0524 หรือ Sutharee.wannasiri@fortifyrights.org ทวิตเตอร์ @S

About The Author

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Scroll to Top